ค้นหาเมนูอาหาร

ข่า สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม Galanga

ความรู้คู่ครัว สาระประโยชน์เกี่ยวกับ ข่า(Galanga) พืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในครัวไทย มีน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอม ฉุน ดับกลิ่นคาวได้ดี รสเผ็ดนิดหน่อย นิยมใส่ต้มยำ ต้มข่า ต้มชนิดต่างๆ รวมทั้งใส่แกง เครื่องแกง


สารอาหาร,คุณค่าทางอาหาร
พลังงาน เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 20 กิโลแคลอรี
แคลเซียม เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 27 มิลลิกรัม
วิตามินซี เหง้าอ่อน 23 มิลลิกรัม ,เหง้าแก่ 22 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ

วิธีและปริมาณที่ใช้ 
-รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

-รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

-รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

ข้อควรระวัง
1. การรับประทานจำนวนมากมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
2. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางรายที่มีภูมิไวต่อข่า เช่น ผื่นแดงตามตัว วิงเวียนศรีษะ เป็นต้น
3. หญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมาก อาจมีผลทำให้แท้งได้
4. ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี

*การใช้รักษาควรศึกษาให้รอบด้าน และโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ข่ามีชื่อเรียกอื่นๆตามภูมิภาค
ข่า,กฎุกกโรหินี (กลาง)
ข่า,ข่าหยวก (เหนือ)
ข่า,ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ)
สะเอเชย,เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

พันธุ์ข่า และแหล่งเพาะปลูก
ข่า : เลย นครนายก ลพบุรี ชลบุรี ตราด
ข่าใหญ่ : นครพนม หนองคาย ขอนแก่ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ลพบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช หนองลำภู พิษณุโลก
ข่าเล็ก : นครศรีธรรมราช พิจิตร
ข่าน้อย : สกลนคร
ข่าหยวก : สุโขทัย เลย พิจิตร ขอนแก่น นครสวรรค์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี อำนาจ แพร่ เชียงราย
ข่าเหลือง : ชัยนาท ตาก
ข่าตาแดง : กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี กะบี่ ตรัง
ข่าหลวง : กะบี่
ข่าแกง : ลพบุรี อยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร นครสวรรค์ เลย
ข่ากลาง : ขอนแก่น
ข่าลิง : ชลบุรี ปราจีนบุรี

ชนิดของข่าที่พบในประเทศไทย
1. ข่าเล็ก
เป็นข่าพื้นเมืองของเกาะไหหลำ พบปลูกในบางพื้นที่ของภาคใต้ ลำต้นมีขนาดเล็ก เหง้ามีสีน้ำตาลปนแดง เนื้อเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อนมาก นิยมมาประกอบอาหารบ้าง แต่ส่วนมากใช้ประโยชน์ทางยา โดยพบน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.3-1.5% พบสารประกอบฟีนอล 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate, 4-Hydroxycinnamoylaldehyde, 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

2. ข่าป่า เป็นข่าที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น มีลักษณะลำต้นสูง ลำต้น และใบคล้ายกับข่าที่ปลูกทั่วไป หัวมีกลิ่นฉุนน้อย

3. ข่าลิง (ข่าน้อย)
มีลักษณะลำต้นเล็ก มีสารประกอบฟีนอลหลายชนิด เช่น 1, 7-diphenyl-3,5-heptanedione, flavonoids, diarylheptanoids และ phenylpropanoids

4. ข่าคม
มีลักษณะใบมน มีขนละเอียดสีขาวปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีใบประดับ กลีบดอกสีขาว แผ่เป็นแผ่น และมีแถบสีเหลืองส้มบริเวณกลางกลีบดอก

5. ข่าน้ำ (เร่ว, กะลา)
เป็นข่าพื้นบ้านที่ปลูกเพื่อจำหน่ายของ อ.ปากเกล็ด จ. นนทบุรี เหง้ามีรสจืดกว่าข่า ช่อดอกสีชมพู

สารเคมี
1. น้ำมันหอมระเหย (Essential oils)
2. สารให้กลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อน
3. สารประกอบฟีนอล

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Alpinia  galanga   (L.) Willd.
ชื่อสามัญ :   Galanga
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ  มีดอกเป็นช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว มีผลเมื่อเป็นผลจะแห้งแตก

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ: Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ: Monocots
ไม่ถูกจัดอันดับ: Commelinids
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
วงศ์ย่อย: Alpinioideae
เผ่า: Alpinieae
สกุล: Alpinia
สปีชีส์: A. galanga
ชื่อทวินาม Alpinia galanga (L.) Willd.



ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 
รวมรวมโดย