ค้นหาเมนูอาหาร

ตะไคร้

ความรู้คู่ครัว ตะไคร้ (Lemon grass, Oil grass)
วันนี้เอาสาระประโยชน์ของ ตะไคร้ มาฝาก
ชื่ออื่นๆ และภาษาท้องถิ่น เรียก
จะไคร (ภาคเหนือ)
คาหอม (แม่ฮ่องสอน)
ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์)
หัวชิงไค,หัวคิงไค (ภาคอิสาน)
ไคร (ภาคใต้)


ชนิดตะไคร้ แบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่
ตะไคร้หอม
ตะไคร้กอ
ตะไคร้ต้น
ตะไคร้น้ำ
ตะไคร้หางสิงห์
ตะไคร้หางนาค

ตะไคร้เป็นพืชตระกูลหญ้า  เจริญเติบโตง่าย มีทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-1.50 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

รสชาติ รสฉุน สุขุม เผ็ดนิดหน่อย ใช้เป็นเครื่องแกงที่มีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหาร
ตะไคร้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
แก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
แก้โรคหืด

หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา

ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน

ใบสด  มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง 
-ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
- นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง

แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
- ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

*การใช้รักษาควรศึกษาให้รอบด้าน และโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

สารเคมี
ต้นและใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ตะไคร้ (Lemon grass, Oil grass)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus
ชนิด: เป็นพืชล้มลุก พืชตระกูลหญ้า
อาณาจักร: Plantae
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Cymbopogon
สปีชีส์: C. citratus
ชื่อทวินาม Cymbopogon citratus
ไม่ถูกจัดอันดับ: Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ: Monocots
ไม่ถูกจัดอันดับ: Commelinids


อ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, http://www.rspg.or.th